บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2018

เทคนิคและรูปแบบการจัดการเรียนรู้

เทคนิคและรูปแบบการจัดการเรียนรู้   รูปแบบการจัดการเรียนรู้             1. รูปแบบการเรียนการสอนวิธีสอนแบบโมเดลซิปปา (CIPPA Model)             2. รูปแบบการเรียนการสอนวิธีสอนแบบโครงงาน ( Project Method)             3. รูปแบบการเรียนการสอนการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน             4. รูปแบบการเรียนการสอนการจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ (Discovery Method)             5. รูปแบบการเรียนการสอนการจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย (Deductive   Method)             6. รูปแบบการเรียนการสอนการจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย (Induction   Method)             7. รูปแบบการเรียนการสอนการค้นหารูปแบบ (Pattern   Seeking)             8. รูปแบบการเรียนการสอนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry   Process)             9. รูปแบบการเรียนการสอนมโนทัศน์ ( Concept Attainment Model)             10. รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดของกานเย ( Gagne’s Instructional Model)             11. รูปแบบการเรียนการสอนโดยการนำเสนอมโนทัศน์กว้างล่วงหน้า ( Advance Organizer Model)             12.

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ(Theory of Cooperative or Collaborative Learning)

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ( Theory of Cooperative or Collaborative Learning)             สยุมพร จุ๋ม ศรีมุงคุณได้กล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า แนวคิดขอทฤษฏีนี้ คือ   การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน   ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม   โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน   ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้   การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้   มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด   มีการสัมพันธ์กัน   มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม   มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม   และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน ส่วนการประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ โดยวิธีการที่ หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน   และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่ม   เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่มเดียว             รังสิมา วงษ์ตระกูล ได้กล

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน constructionism

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน ( constructionism) หลักการ             ชุติมา สดเจริญ ได้กล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองด้วยตนเองของผู้เรียน ผู้เรียนที่มีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะได้เห็นความคิดนั้นเป็นรูปธรรม การสร้างความรู้ในตนเองของผู้เรียน เกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมา   ความรู้ที่ผู้เรียนสร้างขึ้น จะเป็นความรู้ที่มีความหมายต่อผู้เรียน มีความคงทน ไม่ลืมง่าย และและสามารถถ่ายทอดให้คนอื่นเข้าใจความคิดของตนเองได้ดี ความรู้ที่ผู้เรียนสร้างขึ้น จะเป็นฐานให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ใหม่ต่อไปอย่างไม่สิ้นสุด การประยุกต์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้             1.   การใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการให้ผู้เรียนสร้างสาระการเรียนรู้และผลงาน         ต่าง ๆ ด้วยตนเอง             2.   การสร้างสภาพแวดล้อมที่มีบรรยากาศที่หลากหลาย เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เลือกตาม         ความสนใจ             สยุมพร จุ๋ม ศรีมุงคุณได้กล่าวถ

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism)

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง( Constructivism)             ชุติมา สดเจริญ ได้กล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า แนวคิด Constructivism เกี่ยวข้องกับธรรมชาติของความรู้ของมนุษย์ มีความหมายทั้งในเชิงจิตวิทยาและเชิงสังคมวิทยา ทฤษฎีด้านจิตวิทยา เริ่มต้นจาก Jean Piaget ซึ่งเสนอว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นกระบวนการส่วนบุคคลมีความเป็นอัตนัย Vygotsky ได้ขยายขอบเขตการเรียนรู้ของแต่ละบุคคลว่า เกิดจากการสื่อสารทางภาษากับบุคคลอื่น สำหรับด้านสังคมวิทยา Emile Durkheim และคณะ เชื่อว่าสภาพแวดล้อมทางสังคมมีผลต่อการเสริมสร้างความรู้ใหม่               ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนว Constructivism จัดเป็นทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม ( cognitive psychology) มีรากฐานมาจากผลงานของ Ausubel และ Piaget             ประเด็นสำคัญประการแรกของทฤษฎีการเรียนรู้ตาม Constructivism คือ ผู้เรียนเป็นผู้สร้าง ( Construct) ความรู้จากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่พบเห็นกับความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่เดิม โดยใช้กระบวนการทางปัญญา( cognitive apparatus) ของตน             ประเด็นสำคัญประการที่สองของทฤษฎี คือ การเรียนรู้ตามแนว Constructivism คื