แผนการเรียนรู้



แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ  (เทคนิค  STAD)
เรื่อง  การบวก  ลบ  จำนวนเต็ม



แผนการจัดการเรียนรู้ที่  1
รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน  รหัสวิชา  ค 21101                                                                     ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1
หน่วยการเรียนรู้ที่  2  ระบบจำนวนเต็ม                                                                                   เวลาเรียน  24  ชั่วโมง       เรื่อง  ระบบจำนวนเต็ม                                                                                                            เวลาเรียน  1  ชั่วโมง
ผู้จัดกิจกรรม  นางสาวมนทิยา  ลีประโคน                                            สอนวันที่   7   เดือน  มิถุนายน   พ.ศ.  2554   
*****************************************************************************


1.  มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด

มาตรฐานการเรียนรู้  ค 1.1  เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและ
การใช้จำนวนในชีวิตจริง
มาตรฐานการเรียนรู้  ค 6.1  มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์  และการนำเสนอ  การเชื่อมโยง  ความรู้ต่าง ๆ 
ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์  อื่น ๆ  และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

ตัวชี้วัด
ค 1.1  ม.1/1  ระบุหรือยกตัวอย่าง  และเปรียบเทียบจำนวนเต็มบวก  จำนวนเต็มลบ 
ศูนย์  เศษส่วน  และทศนิยม
6.1  ม.1-3/1  ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา 
6.1  ม.1-3/2  ใช้ความรู้  ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์  และเทคโนโลยี
ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ  ได้อย่างเหมาะสม  
6.1  ม.1-3/3  ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม 
6.1  ม.1-3/4  ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ ในการสื่อสาร  การสื่อความหมาย   และการนำเสนอได้อย่างถูกต้องชัดเจน 
6.1  ม.1-3/5  เชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ  ในคณิตศาสตร์  และนำความรู้  หลักการ  กระบวนการทางคณิตศาสตร์ไปเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่น ๆ 
6.1  ม.1-3/6  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  


2.  สาระสำคัญ / ความคิดรวบยอด

จำนวนเต็มประกอบด้วย  จำนวนเต็มบวก  จำนวนเต็มลบ  และศูนย์ (0) 
จำนวนเต็มบวก  ได้แก่  1,  2,  3, 
จำนวนเต็มลบ  ได้แก่  -1,  -2,  -3,  
ศูนย์  ได้แก่  0
แสดงจำนวนเต็มทั้งหมดโดยใช้เส้นจำนวน  ดังนี้
3.  จุดประสงค์การเรียนรู้  เมื่อเรียนจบเรื่องนี้แล้ว  นักเรียนสามารถ

3.1  ความรู้  (K)
1)  บอกเหตุผลในการระบุจานวนเต็มบวก จานวนเต็มลบและศูนย์ได้
2)  ระบุจำนวนเต็มบวก  ลบ  และศูนย์  ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดได้
3.2  ทักษะ/กระบวนการ  (P)
1)  การแก้ปัญหา
2)  การให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ 
3)  การใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร  การสื่อความหมาย  และการนำเสนอได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
4)  การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ  ในคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ
3.3  คุณลักษณะ  (A)
1)  ทำงานอย่างเป็นระบบ
2)  มีระเบียบวินัย
3)  มีความรับผิดชอบ
4)  มีวิจารณญาณ
5)  มีความเชื่อมั่นในตนเอง
6)  มีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์

3.  สาระการเรียนรู้
3.1  สาระการเรียนรู้แกนกลาง
1)  จำนวนเต็ม  ประกอบด้วยจำนวนเต็มบวก  จำนวนเต็มลบ  ศูนย์
2)  จำนวนเต็มบวก  เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าจำนวนนับหรือจำนวนธรรมชาติ 
3)  จำนวนเต็มลบ  มีค่ามากที่สุดคือ  -แต่ไม่มีจำนวนเต็มลบใดที่มีค่าน้อยที่สุด
4)  ศูนย์  เป็นจำนวนเต็มที่ไม่เป็นทั้งจำนวนเต็มบวกและจำนวนเต็มลบ
5)  จำนวนเต็มที่อยู่ทางด้านขวาของ  0  เป็นจำนวนเต็มบวก  จำนวนที่อยู่ด้านซ้ายของ  0  เป็นจำนวนเต็มลบ
3.2  สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น

4.  สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
4.1  ความสามารถในการสื่อสาร
4.2  ความสามารถในการคิด
4.3  ความสามารถในการแก้ปัญหา

5.  คุณลักษณะอันพึงประสงค์
5.1  ซื่อสัตย์สุจริต
5.2  มีวินัย
5.3  ใฝ่เรียนรู้
5.4  มุ่งมั่นในการทำงาน

6.  ชิ้นงาน/ภาระงาน
6.1  แบบฝึกทักษะเล่มที่ 1  เรื่อง  ระบบจำนวนเต็ม  ชุดที่ 1.1
6.2  แบบฝึกทักษะเล่มที่ 1  เรื่อง  ระบบจำนวนเต็ม  ชุดที่ 1.2
6.3  แบบฝึกหัดในหนังสือสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์พื้นฐาน  คณิตศาสตร์ 
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  เล่ม 1  เรื่อง  ระบบจำนวนเต็ม

7.  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นที่  การนำเสนอบทเรียนต่อทั้งชั้น
1.1  ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1)  ครูแจ้งหัวข้อเรื่องที่จะเรียน  จุดประสงค์การเรียนรู้  ให้นักเรียนทราบ
2)  ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับข้อปฏิบัติและข้อตกลงร่วมกันในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ  เทคนิค  STAD  ซึ่งมีวิธีการ  ดังนี้
3)  แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น  กลุ่ม ๆ  ละ  4  คน  โดยแต่ละกลุ่ม  จะมีนักเรียนเก่ง  คน  ปานกลาง  คน  และอ่อน  คน
4)  อธิบายหน้าที่ของสมาชิกในกลุ่ม  พร้อมทั้งกติกาการทำงานร่วมกัน  ดังนี้
1.  นักเรียนต้องทำงานร่วมกัน
2.  นักเรียนต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
3.  ผลงานของกลุ่ม  หมายถึง  ผลงานของทุกคน
4.  เมื่อครูเรียกสมาชิกคนใดคนหนึ่งในกลุ่มอธิบายการหาคำตอบ  สมาชิกคนนั้นจะต้องอธิบายหาคำตอบนั้นได้
5.  การทดสอบย่อย  ชุดที่  ประจำเนื้อหา  นักเรียนจะต้องทำด้วยความสามารถของตนเองไม่อนุญาตให้ช่วยเหลือกัน
6.  ครูแจ้งผลการทดสอบประจำเนื้อหา
1.2  ขั้นสอน
1)  ครูติดแผนภาพเส้นแสดงจำนวนที่นับเพิ่มจาก  1  ไปทางขวาทีละ  1  หน่วยสนทนาพูดคุย  และให้นักเรียนยกตัวอย่างจำนวนที่เป็นจำนวนเต็ม  และจำนวนที่ไม่ใช่
จำนวนเต็ม  เช่น  
จำนวนที่เป็นจำนวนเต็ม  คือ  0,  1,  2,  3,  ...
จำนวนที่ไม่เป็นจำนวนเต็ม  คือ  0.1,  0.5,  0.89 ...
2)  นักเรียนช่วยกันอภิปรายถึงจำนวนเต็มที่นักเรียนรู้จักว่า  มีกี่ประเภท  อะไรบ้าง  และร่วมกันอภิปรายตามหัวข้อต่อไปนี้
จำนวนนับที่น้อยที่สุดคือจำนวนใด  (1)
-  0  เป็นจำนวนนับหรือไม่เพราะเหตุใด
จำนวนที่เป็นจำนวนเต็ม  คือ  0,  1,  2,  3,  …
-  จำนวนที่ไม่เป็นจำนวนเต็ม  คือ  0.1,  0.5,  0.89,  
-  การนับเพิ่มทีละ  ต่อไปเรื่อย ๆ  จะได้จำนวนนับอื่น ๆ  เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  
ไม่มีที่สิ้นสุด  ดังนี้   1 + 1  แทนด้วย  2
2 + 1  แทนด้วย  3
3 + 1  แทนด้วย  4  ฯลฯ 
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปว่า  จำนวนเต็ม  ประกอบด้วย  จำนวนเต็มบวก  จำนวนเต็มลบ  และศูนย์  
จำนวนเต็มบวก  ได้แก่  1,  2,  3,  4,  5,  …
จำนวนเต็มลบ  ได้แก่  -1,  -2,  -3,  -4,  -5,  …
ศูนย์  ได้แก่  0
ขั้นที่  ขั้นศึกษากลุ่มย่อย
2.1  ให้นักเรียนเข้ากลุ่มที่จัดไว้กลุ่มละ  คน  คละความสามารถทางการเรียนโดยมี  กลุ่มเก่ง  กลุ่มปานกลาง  กลุ่มอ่อน  แต่ละกลุ่มศึกษารายละเอียดของเนื้อหาและวิธีการตามแบบฝึกทักษะชุดที่ 
2.2  ให้แต่ละกลุ่มทำกิจกรรมให้ได้ตามเวลาที่กำหนดและให้ช่วยเหลือซึ่งกันและกันภายในกลุ่ม  สมาชิกในกลุ่มสามารถตอบคำถามและอธิบายคำตอบได้ทุกคำตอบตามแบบฝึกทักษะ 
2.3  สมาชิกในกลุ่มแสดงความคิดเห็นและตกลงร่วมกันในการปฏิบัติกิจกรรมเพื่อให้เกิดความเข้าใจเพิ่มขึ้น
2.4  ให้นักเรียนบันทึกลงในแบบฝึกทักษะ  หากสมาชิกภายในกลุ่มไม่เข้าใจ  คนที่เข้าใจช่วยอธิบายให้เพื่อนเข้าใจแล้วนำเสนอผลงานและเสนอแนวความคิดต่อกลุ่ม  เพื่อพิจารณาร่วมกันหาคำตอบที่ถูกต้องและเหมาะสม  ช่วยกันเพิ่มเติมให้สมบูรณ์
2.5  ครูคอยสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของแต่ละกลุ่ม  พร้อมทั้งคอยให้ข้อเสนอแนะ  ตอบข้อคำถามของนักเรียน  หากมีข้อบกพร่องครูเป็นผู้ช่วยชี้แนะแนวทางที่ถูกต้อง
2.6  ครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยแบบฝึกทักษะเล่มที่  เรื่อง  ระบบจำนวนเต็ม  ชุดที่  1.1  และเฉลยแบบฝึกทักษะเล่มที่  เรื่อง  ระบบจำนวนเต็ม  ชุดที่  1.2  ครูอธิบายเพิ่มเติมส่วนที่นักเรียนยังไม่เข้าใจ
ขั้นที่  ขั้นการทดสอบย่อย
3.1  ครูชี้แจงให้นักเรียนทราบว่าการทำแบบทดสอบย่อย  ชุดที่  เรื่อง  ระบบจำนวนเต็ม  นักเรียนต้องทำเป็นรายบุคคล  ไม่ให้ช่วยเหลือกันทำตามเวลาที่กำหนด
3.2  ครูตรวจแบบทดสอบย่อย  ชุดที่  1  เรื่อง  ระบบจำนวนเต็ม  โดยถ้าตอบถูกให้ข้อละ  คะแนน  และตอบผิดให้  คะแนน
ขั้นที่  ขั้นการคิดคะแนนความก้าวหน้าของแต่ละคน / กลุ่มย่อย
4.1  ครูนำคะแนนผลการทดสอบมาคิดเป็นคะแนนความก้าวหน้าของแต่ละคน  และของกลุ่มโดยคะแนนความก้าวหน้าของแต่ละคนคิดได้จากนำคะแนนจากการทดสอบหลังเรียนประจำเนื้อหาของแต่ละคนคิดเป็นร้อยละคะแนนความก้าวหน้า
4.2  คะแนนความก้าวหน้าของกลุ่มคิดได้จากผลรวมของคะแนนการพัฒนาของแต่ละคนในกลุ่มแล้วหารด้วยจำนวนคนในกลุ่ม  คะแนนที่ได้เป็นคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มซึ่งถือเป็นคะแนนความก้าวหน้าของกลุ่ม
ขั้นที่  ขั้นรับรองผลงานกลุ่มที่ได้รับการยกย่องหรือยอมรับ
ครูประกาศคะแนนของแต่ละกลุ่มและยกย่องชมเชย 
 8.  สื่อ/ นวัตกรรม และแหล่งการเรียนรู้
8.1  สื่อ/ นวัตกรรม
1)  แบบฝึกทักษะเล่มที่  เรื่อง  ระบบจำนวนเต็ม
2)  แผนภาพที่  1.1  เส้นจำนวนที่นับเพิ่มจาก  1  ไปทางขวาครั้งละหน่วย
3)  แผนภาพที่  1.2  เส้นจำนวนแสดงจำนวนเต็มลบ  ศูนย์  และจำนวนเต็มบวก
4)  หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน  คณิตศาสตร์  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1
8.2  แหล่งการเรียนรู้
1ห้องสมุดโรงเรียน 
2)  อินเทอร์เน็ต  

     ที่มา


     http://www.vcharkarn.com/uploads/journal/2/vcharkarn-journal-2799_1.docx . [ออนไลน์].  เข้าถึงเมื่อวันที่ 31                 กรกฎาคม พ.ศ. 2561


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม(Humanism)

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ(Theory of Cooperative or Collaborative Learning)

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม (Cognitivism)